วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบราชการ ระเบียบงานสารบรรณ(ข้อ 21-33)

21.รายงานการประชุมจัดอยู่ในหนังสือราชการชนิดใด
ก.หนังสือภายใน
ข.หนังสือสั่งการ
ค.หนังสือประชาสัมพันธ์
ง.หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ*

22.หนังสือประทับตรา ผู้ใดมีอำนาจในการลงชื่อกำกับ
ก.เจ้าหน้าที่ระดับ 2 ขึ้นไป
ข.หัวหน้าแผนก
ค.หัวหน้าฝ่าย
ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย*

23.หนังสือราชการที่มีคำว่า "ด่วน"ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ปฏิบัติเร็วที่สุด
ข.ปฏิบัติโดยเร็ว
ค.ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ *
ง.ปฏิบัติเร็วตามกำหนดเวลา

24.ตามระเบียบงานสารบรรณ หนังสือราชการที่จัดทำขึ้นจะต้องทำ……..อย่างน้อย 1 ฉบับ
ก.สำเนาต้นฉบับ
ข.สำเนาคู่ฉบับ*
ค.สำเนาซ้ำฉบับ
ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.

25.หนังสือต่อไปนี้ มีหนังสือประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
ก.หนังสือที่เกี่ยวกับความลับ
ข.หนังสือที่มีหลักฐานการโต้ตอบ
ค.หนังสือที่เกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน*
ง.หนังสือสำนวนการสอบสวน

26.การเซ็นชื่อรับรองสำเนาหนังสือ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับใดขึ้นไปเป็นผู้ลงนามรับรองที่ชอบด้วยระเบียบงานสารบรรณ
ก.ระดับ 2*
ข.ระดับ 3
ค.ระดับ 4
ง.ระดับ 5

27.การพิมพ์ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่ออกหนังสือให้พิมพ์ไว้ส่วนใดของหนังสือราชการ
ก.ริมกระดาษด้านบนขวา
ข.ริมกระดาษด้านบนซ้าย
ค.ริมกระดาษด้านล่างซ้าย*
ง.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด

28.หนังสือราชการที่เป็นต้นฉบับ (ตัวจริง) จะมีรูปครุฑไว้ตรงส่วนใดของหนังสือ
ก.ด้านบนขวา
ข.ด้านล่างซ้าย
ค.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด*
ง.ตรงส่วนใดก็ได้ขอให้เห็นเด่นชัด

29.การพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่องนั้น ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหน
ก.มุมกระดาษด้านล่างขวา
ข.กลางหน้ากระดาษด้านบนขวา
ค.ใต้ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง *
ง.ตรงไหนก็ได้

30.ตั้งแต่ข้อ 30 ถึง 33 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วนใดของซอง โดยยึดคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
ก.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
ข.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน
ค.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
ง.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง

30.เลขที่หนังสือออก* ก
31.คำขึ้นต้น ชื่อผู้รับ* ง
32.ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง* ค
33.ด่วนมาก* ข


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น