วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สรุปวิชาหลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง PS202

ระบบรัฐสภา (Prliamentary System)  หรือ ระบอบการปกครองที่แบ่งแ็ยกอำนาจผ่อนคลายเป็นรูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่อังกฤษเป็นแม่แบบเรียกกันว่า"ระบบรัฐสภาคลาสสิก" ซึ่งในการปกครองแบบนี้จะถือว่ารัฐสภาเป็นองค์กรการเมืองที่มีความสำคัญกว่าองค์กรอื่น ๆ ในแง่ที่ว่าเป็นองค์กรที่แสดงถึงเจตนารมณ์ของประชาชน ฉะนั้นโดยหลักการแล้วรัฐบาลที่ปกครองและบริหารประเทศจะต้องเป็นรัฐบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา หรือเป็นรัฐบาลที่บริหารงานด้วยความรับผิดขอบต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นองค์กรผู้แทนจากประชาชน

หลักการที่สำคัญของระบบรัฐสภา คือ
1. อำนาจรัฐไม่รวมในองค์กรเดียว แต่มีการแยกให้แต่ละองค์กรเป็นผู้ใช้อำนาจ เช่น อำนาจบริหารใช้โดยคณะรัฐมนตรี อำนาจนิติบัญญัติโดยรัฐสภา และอำนาจตุลาการใช้โดยผู้พิพากษาในศาล
2.  อำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐจะถูกแจกจ่ายให้องค์กรต่าง ๆ กัน โดยองค์กรเหล่านี้ไม่แยกกันโดยเด็ดขาด เช่น  - ฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) มีอำนาจในการอนุมัติเงินงบประมาณแผ่นดิน เพื่อเป็นการควบคุมการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลแทนประชาชน - ฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี) มีอำนาจในการเสนอกฎหมายเช่นเดียวกับฝ่ายนิติบัญญัติ - ฝ่ายตุลาการ(ศาล) มีความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ โดยไม่อยู่ภายใต้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ ในขณะที่ทั้งฝ่ายสภาและฝ่ายรัฐบาลเป็นอำนาจการเมือง
3. เป็นระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ (Check and Balance)  ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา)และฝ่ายบริหาร(รัฐบาล) ในกรณีเกิดการขัดแย้งกันจะมีทางออก คือ ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งเป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจบริหารประเทศ ในขณะเดียวกันฝ่ายบริหารก็มีอำนาจยุบสภา เพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ จึงกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่รัฐบาลบริหารประเทศได้ด้วยความไว้วางใจจากรัฐสภา
4. มีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ (Chief of State) และตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหาร หรือตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลโดยแยกเป็นคนละคนกัน
- ตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล คือ นายกรัฐมนตรี มาจากการเลือกตั้ง
- ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ มีอำนาจในทางพิธีการ เป็นสัญลักษณ์ของชาติ คือพระมหากษัตริย์

ระบบรัฐสภาไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อธิบายได้ดังนี้
1. เป็นแบบสองสภาหรือสภาคู่ ประกอบด้วย
-สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 480 คน แบบแบ่งเขต 400 คน แบบสัดส่วน 80 คน มีวาระ 4 ปี
- วุฒิสภา มีสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้ง 76 คน แต่งตั้ง 74 คน มีวาระ 6 ปี
2. บุคคลจะเป็น ส.ส.และส.ว.พร้อมกันไม่ได้
3. ประธานสภา ส.ส.เป็นประธานรัฐสภาด้วย ประธาน ส.ว.เป็นรอง
4. การประชุมสภา ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด จึงครบองค์ประชุม
5. การเปิดประชุมสมัยแรกซึ่งพระมหากษัตริย์หรือผู้แทนทรงเปิด
6. การยุบสภาต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีนายกเป็นผุ้รับราชโองการ

รัฐเดี่ยว (Unitary State) หมายถึง รัฐที่มีศูนย์อำนาจทางการเมืองและการปกครองอยู่แห่งเดียว เป็นรัฐที่มีผู้ใช้อำนาจอธิปไตยสมบูรณ์ทั้งภายในและภายนอกอยู่เพียงแห่งเดียว คือ รัฐบาลของประเทศ

รูปแบบของรัฐเดี่ยวมีลักษณะดังนี้
1. เป็นรัฐที่มีศูนย์อำนาจทางการเมืองการปกครองอยู่ที่ส่วนกลางหรือเมืองหลวงของประเทศเพียงแห่งเดียว คือ เป็นรัฐที่รวมเอาคำสั่ง คำบังคับบัญชา และคำวินิจฉัยไว้ที่ส่วนกลาง หรืออำนาจในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายอยู่ที่รัฐบาลเดียว โดยทั่วไปแล้วรัฐเดี่ยวจะรวมเอาหน่วยงานที่สำคัญของรัฐ เช่น กระทรวง ทบวง กรม รวมถึงกำลังทางทหาร ตำรวจไว้ที่ส่วนกลางเพียงแห่งเดียว จึงกล่าวได้ว่าอำนาจของส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะเป็นในลักษณะเหลี่ยมล้ำกัน แม้รัฐธรรมนูญปัจจุบันจะกระจายอำนาจให้แก่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นก็ตาม แต่การออกกฎหมายในบางเรื่องก็ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนด
2. มีพระราชบัญญัติที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเหมือนกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ คือ กฎหมายที่ออกโดยรัฐบาลสามารถบังคับใช้กับบุคคลทั้งหมดที่อยู่ภายในรัฐเดี่ยว มีผลบังคับใช้ได้ทั่วประเทศ
3. การปกครองส่วนท้องถิ่นของรัฐเดี่ยวในปัจจุบัน อาจได้รับการกระจายอำนาจจากส่วนกลางมากขึ้น แต่ความเป็นอิสระของท้ิองถิ่นต้องไม่มากจนเป็นรัฐอิสระ หมายความว่า อำนาจของท้ิองถิ่นต้องมาจากอำนาจส่วนกลาง โดยส่วนกลางยังคงควบคุมการใช้อำนาจของท้ิองถิ่นอยู่
4. การปกครองส่วนภูมิภาคของรัฐเดี่ยว อำนาจยังขึ้นตรงต่อส่วนกลาง

อธิบายสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มา 10 ประเด็น

รัฐธรรมนูญแ่ห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ที่มาจากการทำประชามติ ในวันที่ 19 ส.ค.2550 และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 24 ส.ค.2550 แบ่งออกเป็น 15 หมวด มี 309 มาตราและบทเฉพาะกาล
1. ประเทศไทยมีรูปแบบเป็นรัฐเดี่ยว (มาตรา1)
2. มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (มาตรา 2)
3. อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนชาวไทย การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา ครม ศาล และหน่วยงานของรัฐเป็นไปตามหลักนิติธรรม
4. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
5. พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดละเมิดมิได้ จะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
6. บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
7. ผู้ดำรงตำแหน่งทางกรเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการ ไม่ว่าในนามของตนหรือผู้อื่นถือแทนมิได้
8. บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอันในการรับรองการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
9. ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
10. บคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
11. จัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง รวมทั้งจัดให้มีสภาพัฒนาการเมืองที่มีความเป็นอิสระ
12. รัฐสภาประกอบด้วย ส.ส.และส.ว. ประธาน ส.ส.เป็นประธานรัฐสภา ส่วนประธาน ส.ว.เป็นรองรัฐสภา
13. ส.ส.มีสมาชิก 480 คน แบบแบ่งเขต 400 แบบสัดส่วน 80 คน การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมีจำนวนสมาชิกไม่ถึง 480 คน แต่มีไม่น้อกว่าร้อยละ 95 ให้ถือว่าจำนวนนั้นประกอบด้วย ส.ส. แต่ต้องดำเนินการให้มีสมาชิก ส.ส.ให้ครบภายใน 180 วัน และให้อยู่ได้เพียงอายุของ ส.ส.ที่เหลืออยู่
14. ผุ้มีสิทธิเลือกตังในเขตเลือกตั้งใดมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งได้เท่าจำนวน ส.ส.ที่มีได้ในเขตนั้น
15. การเลือกตั้ง ส.ส.แบบสัดส่วนให้มีการเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น การกำหนดเขตให้จัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 8 กลุ่มจัหวัดและให้แต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
16. ผุ้มีสิทธิเลือกตั้งชายหรือหญิงอายุไ่ม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 ม.ค.ของปีที่มีการเลือกตั้ง
17. ผุ้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งชายหรือหญิงอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรร์ เป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน เว้นแต่เหตุการยุบสภา เป็นสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 30 วัน
18. อายุ ส.ส. มีวาระ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง และในระหว่างอายุของ สภา ส.ส. จะมีการควบรวมพรรคการเมืองที่มี ส.ส. มิได้
19ส.ว.มีสมาชิก 150 คน เลือกตั้ง 76 คน แต่งตั้ง 74 คน
20. คุณสมบัติ ส.ว. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี บริบุรณ์ การศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ไม่เป็นพรรคการเมืองและพ้นจากสมาชิกพรรคการเมืองไม่ต่ำกว่า 5 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น